การเต้นรำถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน ของคนทุกชนชั้นมานานแล้ว ซึ่งท่าทางก็จะแตกต่างกันอออกไปตามการดำรงชีวิตของคนประเทศนั้นๆ แต่ที่เหมือนกันโดยหลีกเลี้ยงไม่ได้คือเพลงและจังหวะในการเต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือเสน่ห์ที่ไม่ว่าใครที่มาเห็นก็ต้องจดจำอย่างแน่นอน
การเต้นรำของเอเชียดินแดนแห่งอารยธรรม
คำกล่าวนี้ไม่ต้องหาดูไกลเลยครับ เพราะสมามาดูได้จากประเทศไทยของเรานี่แหละ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเต้นรำทางประเพณีก็มีกันให้ชมทุกภาค อย่างภาคเหนือของเรา มีพื้นที่ติดกับภูเข้า ประชากรส่วนใหญ่ก็คือชาวเขา การเต้นรำของภาคนี้จึงเป็นการฟ้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนมาลัยฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ เป็นต้น จังหวะประกอบเพลงจึงค่อนค้างช้าเพื่อทำให้สามารถโชว์อุปกรณ์ประกอบได้อย่างเต็มที่ กับอีกหนึ่งภาคที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั่นก็คือภาคไต้ของไทย ที่มีพื้นที่ติดกับทะเล อากาศร้อน จะสามารถสังเกตได้ว่าทำไมคนใต้ถึงทำอะไรเร็วๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเดิน การทำงาน จึงไม่แปลกใจเลยที่เพลงประกอบท่าเต้นของคนใต้จะเป็นเพลงเร็ว จังหวะเร้าใจ ท่าเต้นที่สนุกสนานและ พร้อมเพียง โดยส่วนใหญ่จะเป็นไปตามประเพณีและ วัฒนธรรมท้องถิ่นทั่งสิ้นไม่เว้นแม้กระทั่ง ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เกาหลีและ ญี่ปุ่น ที่เน้นทั้งความสวยงามและ พร้อมเพรียง นอกจากนี้ยังมีการแต่งหน้าแต่งตาและ เสื้อผ้าที่ดูแปลกตาและสวยงาม ส่วนประเทศจีนนั้นจะเน้นเป็นกายกรรมเสียมากกว่า เน้นโชว์ความแข็งแกร่งของร่างกาย และความเร็ว ซึ่งมีโชว์การเต้นอยู่อย่างหนึ่งที่ผู้แสดงสามารถเปลี่ยนหน้ากากได้ในเวลาอันสั่นและ ไม่มีใครจับได้ว่าทำอย่างไร ถึงแม้เทคโนโลยีสมัยนี้จะก้าวหน้าถึงขั้นใช้ซุปเปอร์สโลโมชั่นแล้วก็ยังไม่สามารถจับผิดการเต้นโชว์เปลี่ยนหน้ากากได้